29 พฤษภาคม 2555

เมื่อหมอบอกว่าไม่มีทางรักษา พวกเขาไม่ยอมแพ้

เมื่อหมอบอกว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษา
ไม่หรอก เขาจะบอกว่าผมจะพยายามอย่างเต็มที่
คนส่วนใหญ่จะยอมรับโดยดุษณี
แล้วฝากความหวังทั้งหมดไว้ที่หมอ

แต่ไม่ใช่ Augusto และ Michaela Odone เมื่อบุตรชายของพวกเขา Lorenzo Odone ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงทางพันธุกรรมที่ไม่มีทางรักษา ALD พวกเขาปฏิเสธการพยากรณ์โรคระยะสุดท้ายของหมอ และเริ่มต้นค้นคว้าหาทางรักษาโรคที่ไม่มีทางรักษานี้ ทั้งที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ ในระหว่างที่อาการของ Lorenzo กำลังแย่ลงไปเรื่อยๆ เด็กชายเริ่มเดินไม่ได้ พูดไม่ได้ กระทั่งไม่สามารถสำลักออกมา หากมีอะไรหลุดเข้าในหลอดลม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่เป็น ALD เสียชีวิตในที่สุด

หลังจากกินนอนในห้องสมุดทางการแพทย์ เรียนรู้เกี่ยวกับโรค ALD ที่เกิดจากการสะสมของ VLCFA กรดไขมันสายยาวมาก ภายในสมอง พวกเขาค้นคว้างานวิจัยต่างๆ จนได้แนวคิดในการรักษาขึ้นมาใหม่ โดยใช้ไขมันอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อทานเข้าไปแล้วจะช่วยลด VLCFA ในสมองของผู้ป่วยได้ น้ำมันชนิดนั้นถูกตั้งชื่อว่า Lorenzo's oil ปัจจุบันใช้สำหรับป้องกันไม่ให้เด็กที่เริ่มเป็น ALD มีอาการมากขึ้น แต่มันสายเกินไปแล้วสำหรับ Lorenzo เมื่อสมองเด็กชายถูกทำลายไปจนเกินกว่าที่จะแก้ไขได้

เรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ของครอบครัว Odone ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลีวู้ดชื่อ Lorenzo's Oil นำแสดงโดย Nick Nolte และ Susan Sarandon ออกฉายในปี 1992  เรื่องในหนังจบลงเมื่อ Lorenzo อายุ 14 ปีและเริ่มมีอาการดีขึ้น กระดิกนิ้วและกระพริบตาสื่อสารกับพ่อแม่ได้ หลังจากนั้นเขามีชีวิตยืนยาวไปจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2008 หนึ่งวันหลังจากวันเกิดครบรอบ 30 ปีของเขา
"Certainly, he has good days and bad days, he is bedridden and he cannot eat more than through a tube… but his mind is still there. He likes that we read to him, that we play music for him and he knows who is around him"
Phil Collins นำบทกวีที่ Augusto แต่งให้ Lorenzo มาทำเป็นเพลงชื่อ Lorenzo ในปี 1996 ในอัลบั้ม  Dance into the Light


Once upon a time I made a lion roar -
he was sleeping in the sunbeams on the old zoo floor.
I had gone to see the park where my papa used to play,
it's called called Villa Borghese and it's on the way
to East Africa.
Down on Grand Comoro Island, where I grew past four,
I could swim and fish and snorkel on the ocean floor,
and the wind laughed, and the wind laughed through the trees as if to say,
here's a child who'll want the world to go his way
in East Africa, in East Africa.
Suddenly for me the world turned upside down -
far from my friends the lions and the dolphins came this awful sound.
Dark shadows, sounds of thunder raging over me,
came this monster called 'A-dre-no-leu-ko-dys-tro-phy'
Where's my East Africa?
Well they said, they said, they said (the ones who know it all)
they said from now on for you there will be no more standing tall,
so I took my parents' hands, I lifted my head to say
I'll just have to be a hero, there's no other way!
Back to East Africa
Back to East Africa
Back to East Africa
Come with me I'm going back, going back to East Africa.
แด่ครอบครัว Odone ผู้ไม่เคยยอมแพ้ _/|\_

20 พฤษภาคม 2555

ความยุติธรรมไม่เคยมีจริง อย่างน้อยก็ในเมืองไทย


สารคดีความยาว 59 นาทีของ BBC เรื่อง "Thailand - Justice Under Fire" เป็นมุมมองของ Fergal Keane นักข่าวมือรางวัล ต่อสถานการณ์ในเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ราชประสงค์ และผลที่เจ็บปวดยาวนานของมันในหัวใจของคนไทยทุกคน

สารคดีชิ้นนี้ดูแล้วจะเจ็บปวดทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านคนเสื้อแดง ดังนั้นต้องใช้ความอดทนค่อนข้างมาก แต่ขอให้ตั้งใจดูตั้งแต่ต้นจนจบ ประเด็นของสารคดีไม่ได้อยู่ที่ใครผิดใครถูก และข้อมูลในนั้นไม่จำเป็นต้องตรงกับที่แต่ละคนตีความ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกองกำลังของเสื้อแดง ใครเริ่มยิงก่อน และการที่ทหารได้ปลิดชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปหลายคนในวันนั้น ธีมของสารคดีมีเพียงประเด็นเดียวที่ขมวดไว้ในตอนจบ
"อะไรคือผลลัพธ์ของการไม่มีความยุติธรรม" นักข่าวถาม
"มันก็จะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า"
สารคดีถ่ายทำตั้งแต่ตอนยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้เป็นนายก เธอให้สัมภาษณ์โดยรับปากอย่างแข็งขันว่าเธอจะจัดการให้เกิดความยุติธรรมขึ้นให้ได้ เป็นความกังขาที่นักข่าวติดค้างไว้ในตอนจบของสารคดี

ถึงตอนนี้เราได้เห็นเฉลยแล้วว่า จะไม่มีการแสวงหาความจริงเกิดขึ้นแต่อย่างใด

เพจของสารคดี

Thailand - Justice Under Fire
In Thailand a charismatic woman leader has just won a general election promising justice for the victims of army violence. Last year more than ninety people were killed in bloody clashes between demonstrators and the army in central Bangkok.
Award-winning correspondent Fergal Keane investigates the struggle of victims' families as they seek the truth about what happened to their loved ones. He explores claims of cover-up and impunity for the powerful.

วีดีโอ YouTube พร้อมซับไตเติ้ลภาษาไทย

ความยุติธรรมภายใต้กระบอกปืน



18 พฤษภาคม 2555

อยากผอมกินคาร์บดี อยากเป็นเบาหวานกินคาร์บเลว


Glycemic index ของอาหารคือตัวเลขที่บอกเราว่า อาหารชนิดนั้นมีผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือดของเราได้เร็วเพียงใด ข้างล่างเป็นตาราง GI ของอาหาร 1300 รายการ (โดยนักวิจัยในออสเตรเลีย)

International table of glycemic index and glycemic load values: 2002

ช่องที่เทียบกับกลูโคส หมายความว่าถ้ากลูโคสนับเป็น GI = 100 แล้วผลของของอาหารชนิดนั้นต่อน้ำตาลในเลือดในช่วง 2 ชม.หลังจากทานเข้าไป จะมีค่าเท่าไหร่ ตั้งแต่ 0 คือไม่มีผลเลย ไปจนถึง 100 คือมีผล (เร็ว) พอๆ กับกินกลูโคส สรุปว่า GI คือ "ความเร็ว" (ง่าย) ในการย่อยคาร์โบไอเดรตในอาหารชนิดนั้น ส่วน glycemic load คือ "ปริมาณ" ผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือด ซึ่งก็คือ GI คูณปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ซึ่งขึ้นกับปริมาณที่ทาน

มีตัวเลขที่ทำให้แปลกใจได้หลายตัวเช่น Corn flake ได้ GI = 80! ให้พลังงานเร็วมาก มีทฤษฏีในทางการแพทย์ที่เชื่อว่าการกันอาหารที่มี GI สูงตลอดเวลา ทำให้อ้วนและเป็น metabolic syndrome ตามด้วยเบาหวานและโรคหัวใจ ปัจจุบันนักวิจัยสามารถทำให้หนูเป็นเบาหวาน (เพื่อทดสอบยารักษาเบาหวาน) ได้โดยการให้อาการที่มี GI สูงเพียงไม่กี่ "สัปดาห์"

ในทางกลับกัน สูตรไดเอ็ตสมัยใหม่เกือบทุกเจ้าจะแยกระหว่าง bad carb (GI สูง) กับ good carb (GI ต่ำ) แล้วเน้นว่าให้เลิกกินคาร์บเลว กินแต่คาร์บดี เพราะคาร์บเลวเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็ว ซึ่งร่างกายไม่มีทางใช้ทัน (ถ้าไม่ได้กำลังวิ่งอยู่) แต่ร่างกายเราเพิ่งวิวัฒนาการมาจากยุคที่อาหารหายาก จึงไม่ยอมทิ้งน้ำตาลหรือโปรตีนออกจากร่างกายโดยเด็ดขาดในภาวะปกติ แปลว่าน้ำตาลที่เหลือทั้งหมดก็ต้องเก็บไว้ที่ตับ กล้ามเนื้อ ที่พุง และใต้ผิวหนัง บวกกับวิธีชีวิตที่ "นั่งตลอดทั้งวัน" เลยไม่ค่อยได้ใช้ที่เก็บไว้สักที เราเลยพากันอ้วนง่ายผอมยากกันทั้งประเทศ

GI ถูกคิดขึ้นมาในปี 1980 และทำให้เราเข้าใจว่า แคลอรีจากคาร์โบไฮเดรตในอาหารแต่ละประเภท ไม่ได้มีผลต่อร่างกายเราเท่ากันอย่างที่เคยคิด

]babi]


16 พฤษภาคม 2555

ไทย อิสระ เสรี

อิสรภาพ

"ไทย [N] freedom, Syn. ไท, Ant. ทาส, Example: ชนทุกชาติต้องการเป็นไทยทั้งสิ้น ไม่มีใครที่ชอบอยู่ใต้อำนาจผู้อื่น, Thai definition: ความมีอิสระในตัว, ความไม่เป็นทาส"
-- longdo

ประเทศสยาม (ซึ่งนัยยะคือแผ่นดินรูปขวานในบริเวณสุวรรณภูมิและอารยธรรมที่อยู่ตรงนั้น) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" เหมือนเพื่อจะยืนยันว่า "อิสรภาพ" เป็นค่านิยมสูงสุดของคนไทย ความที่ปัจเจกชนมีความคิดและการกระทำเป็นของตัวเอง ไม่ขึ้นกับใคร ไม่เดินตามคนจูงไม่ว่าเขาจะตัวใหญ่แค่ไหน อย่างที่เรามักจะภูมิใจกันว่าเป็นประเทศในเอเซียเพียงประเทศเดียว ที่รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิยมได้ (แม้บางคนอาจจะติดแย้งว่าตกเป็นอาณานิคมฝรั่งยังจะดีกว่า)

เสรีภาพ


ด้วยการยึดมั่นในค่านิยมนี้ คนไทยจึงเป็นคนที่มีเสรีภาพมากที่สุดในโลก ทำอะไรก็ได้ จะถูก จะผิด จะดี จะเลว ทำได้หมด อยากจะพูดวิพากษ์วิจารณ์ใครทำได้หมด ใครจะเถียงว่ามีบางคนที่วิจารณ์ไม่ได้ ผมจะไปค้นมาให้ว่าเขาวิจารณ์กันที่ไหน และรุนแรงเพียงใด

ผมเห็นคนอเมริกันวิจารณ์ประธานาธิบดีเขาอย่างหยาบคาย แต่นั่นโดยดีกรีแล้วเทียบไม่ได้กับที่คนไทยวิจารณ์นายกรัฐมนตรี หรือราชวงศ์ ของประเทศตัวเอง ทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำกันโดยกว้างขวาง ตั้งแต่ออนไลน์ไปจนถึงตลาดสดและหมู่บ้านในชนบท เป็นเสรีภาพที่ไร้ซึ่งขอบเขตและความรับผิดชอบ เพราะคนไทยไม่ชอบเอาเรื่องกันเวลาถูกวิจารณ์ เพราะไม่อยาก "มีเรื่อง" สังคมไทยจึงเจริญไปในทิศทางของอนาธิปไตย เมื่อผู้นำประเทศไม่อยู่ในสายตาของพลเมือง

ในบางประเทศ แค่เป็นคนรักร่วมเพศก็อาจไม่ควรมีชีวิตในสายตาของบางคน บางครั้งการเป็นโปรแตสแตนต์ก็ทำให้ถูกฆ่าตายได้ หรือหากสีผิวหรือสำเนียงของเราต่างออกไปก็อาจทำให้ความเป็นคนลดลงไป บางทีแม้แต่การเคี้ยวหมากฝรั่งก็อาจทำให้ถูกตำรวจจับ ในบางประเทศ ชาติกำเนิดกำหนดชนชั้นของเราไปตลอดชีวิต บางประเทศ โอกาสที่คุณจะเริ่มต้นจากความยากจน แล้วทำงานหนักไปจนเป็นเศรษฐีนั้นแทบเป็นไปไม่ได้

บ้านเราได้เห็นผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากศูนย์ตลอดมา โอกาสในการไต่เต้าเลื่อนชั้นของตัวเองมีมากมาย และหลายคนก็ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางนั้นไม่ว่ามันจะมีคุณค่าจริงๆ หรือไม่ก็ตาม ใครจะเถียงว่าบ้านเราไม่ให้โอกาสคนจน ผมจะไปค้นมาให้ว่า มีใครที่เริ่มต้นจากศูนย์หรือติดลบ จนก้าวขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าได้ เศรษฐกิจบ้านเราต่างจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ คือการมี SME จำนวนมาก เรามีเศรษฐีเต็มเมืองซึ่งส่วนใหญ่ก็อาศัยความสามารถ ไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมาแต่เด็ก

คนไทยจึงเป็นคนที่มีเสรีภาพมากที่สุดในโลก ดังนั้นไม่ต้องเรียกร้องหาเสรีภาพกันหรอก เพราะเราไม่ได้ขาดแคลน เรามีอยู่มากกว่าประเทศอื่นมาก แต่ความเป็นคน "ไทย" เราจึงอยากได้เสรีภาพมากขึ้นกว่านี้อีก เหมือนยาเสพติด มากเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ เพราะมันเป็นค่านิยมสูงสุดของเรา

ผมอยากเห็นคนไทยเรียกร้องหาอิสรภาพมากกว่า เป็นอิสระในทางความคิดและการกระทำ เป็นอิสระในค่านิยมและการตัดสินใจ เดินด้วยตัวเอง ไม่เดินตามคนจูงไม่ว่าเขาจะตัวใหญ่แค่ไหน ไม่งั้นเราก็จะเห็นแต่การใช้เสรีภาพเพื่อพูดในความคิดและค่านิยมที่ถูกปลูกฝังขึ้นมาแทน การพูดซ้ำไปซ้ำมาไม่ค่อยมีประโยชน์ การมีความคิดและวิจารณญาณเป็นของตัวเองต่างหาก ที่ทำให้เราและสังคมเติบโตไปด้วยกัน

h.koppdelaney

8 พฤษภาคม 2555

เมื่อหมอบอกว่ารักษาไม่ได้ อย่าเชื่อ!


เมื่อคุณป่วยหนัก จนหมอและทุกๆ คนบอกว่าไม่มีทางรักษาได้

"อย่าเชื่อ!"

ร่างกายและจิตใจของมนุษย์มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองสูงมาก ไม่งั้นคงไม่รอดมาเป็นผู้ชนะบนโลกใบนี้ ในขณะที่วิทยาศาสตร์ยังเข้าใจร่างกายมนุษย์น้อยมาก เมื่อความรู้ทางการแพทย์บอกว่าโรคของคุณไม่มีทางรักษาหาย มันมีความหมายเพียงแค่ว่า "พวกเขา" ยังไม่รู้วิธีเท่านั้นเอง

Arthur Boorman เป็นพลร่มทหารผ่านศึกสงครามอ่าว การกระโดดร่มทำให้หลังและขาของเขาเสียไปจนไม่สามารถพยุงตัวเองโดยปราศจากไม้เท้าได้ หมอบอกเขาว่า เขาไม่มีทางกลับมาเดินได้

และเขายอมรับเช่นนั้นอยู่ 15 ปี

เขาน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่สามารถออกกำลังกายได้ ครูโยคะทุกคนปฏิเสธเขา จนกระทั่งเขาพบคนหนึ่งที่เชื่อว่าเขาจะต้องทำได้ นั่นแหละ เขาถึงเริ่มเชื่อว่าเขาจะต้องหาย ภายใน 6 เดือน เขาลดน้ำหนักได้ 45 กิโลกรัม ยืนขาเดียวยกอีกขาได้ถึงหัว เขาเดินได้ และเขาวิ่งได้!

หลังจากที่เสียเวลากับการยอมรับความเจ็บป่วยมา 15 ปี Arthur บอกว่า

"They were wrong... It was possible."

"Never underestimate what you can accomplish
when you believe in yourself."

"Never Give Up"

ลองดูวีดีโอที่แสดงให้เห็นพัฒนาการของเขาด้วยตาของตัวคุณเอง แล้วถามตัวเองว่ามีอะไรที่คุณคิดว่าคุณ "ทำไม่ได้" บ้าง



--

1 พฤษภาคม 2555

สารคดี The Buddha ของ David Grubin ที่คนไทยไม่ควรพลาด


David Grubin ผู้กำกับสารคดีระดับตำนานที่กวาดรางวัลมาเป็นภูเขา จะมาเล่าให้เราฟังถึงชีวิตและการเดินทางของพระพุทธเจ้า ผ่านเสียงของ Richard Gere กับมุมมองของกวีและนักวิจัยสาขาต่างๆ ผ่านภาพจากสถานที่ในอินเดีย และงานศิลปะอันทรงค่าที่รวบรวมเอาไว้ในสารคดี "The Buddha" ความยาว 2 ชั่วโมง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ PBS ในสหรัฐอเมริกา

ฟังฝรั่งเล่าเรื่่องพระศาสดาของเราแล้วรู้สึกว่าจะเข้าใจง่ายกว่าที่ฟังจากครูตอนเด็ก หรืออ่านจากหนังสือ แม้ว่าเนื้อหาจะเหมือนกัน แต่สารดีนี้ดำเนินเรื่องไปพร้อมกับการอธิบายบริบทของสถานการณ์ ด้วยภาพประกอบ และคอมเมนต์จากผู้เชี่ยวชาญที่ทำให้เราเห็นภาพที่เกิดขึ้นเมื่อ 2600 ปีได้เหมือนกับได้ร่วมเดินทางไปกับพระองค์ด้วย เพราะสารคดีพยายามช่วยให้เราเข้าใจบริบท แรงจูงใจ และเหตุผลในการตัดสินใจของพระองค์ในช่วงสำคัญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

ดูแล้วอาจจะรู้สึกว่ากวีและผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เข้าใจพุทธศาสนามากกว่าคนไทยเสียอีก

หมายเหตุ
เนื้อหาในสารคดีมาจากพุทธศาสนาทางสายมหายาน เข้าใจว่าเกิดจากมหายานเติบโตในอเมริกามากกว่าเถรวาท เนื้อหาจึงมีความคลาดเคลื่อนจากความเข้าใจของพุทธศานิกชนสายเถรวาทอย่างพวกเราอยู่บ้าง เช่น

  • พระพุทธเจ้า ยังคงมีความโศกเศร้า สิ้นหวัง และร้องไห้ได้ เพราะพระพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์
  • เราไม่สามารถกำจัดตัณหาได้ นิพพานคือการค้นพบพุทธะในตัวเรา ไม่ใช่การกำจัดกิเลสจนหมด

วีดีโอ

  • วีดีโอที่ PBS -  มีซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษซึ่งเปิดโดยกดที่ปุ่ม CC 
Watch Full Program on PBS. See more from The Buddha.


อ่านเพิ่มเติม