19 ธันวาคม 2557

เขียน “เรื่องสั้น” ด้วยวิธีง่ายๆ กับชมัยพร แสงกระจ่าง

โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

short-story“เรื่องที่จะอามาเขียนต้องประทับใจสุดๆ มีแรงปรารถนามากที่สุด ถามตัวเองว่าตั้งแต่มีชีวิตมา อ่านชีวิตรอบๆ ตัว ทำข่าวที่หาข้อมูลมาทั้งหมด มีเรื่องอะไรกระทบใจสุด อยากเขียนมากที่สุด อะไรที่ร้ายแรง เศร้าที่สุดในชีวิตเรา ความตายครั้งแรกทีเรารู้จัก ของเหล่านี้กระตุ้นเรา เป็นกุญแจสำคัญที่จะไข ชีวิตเรา” คำกล่าวของ ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กำลังจุดประกายต่อมความอยากเขียนของคนข่าวขึ้นมา

คุณชมัยภร เริ่มต้นโดยให้ความรู้เรื่องการเขียนเรื่องสั้นว่า งานเขียนเรื่องสั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ข่าว อะไรก็ได้ที่มีวรรณศิลป์เข้ามา หลายคนอาจจะรู้สึกแยกไม่ออกระหว่างวรรณศิลป์กับข่าว ขออธิบายว่า ตัววรรณกรรมคือตัวข้อเท็จจริง ผสมจินตนาการ จินตนาการคือสิ่งที่เราคิดไปข้างหน้าไปก่อน หรือจินตนาการมีเบื้องลึกเบื้องหลัง ดังนั้นใครที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วมีมีจิตนาการขึ้นมาปั๊บ อันนั้นคือเราฝึกใช้จิตนาการอยู่บ่อยๆ เราชอบใช้ ถ้าเราเป็นนักข่าวเราอยากรู้อย่างเห็น และต้องไปหาข้อมูล หาข้อเท็จจริงเหตุใดจึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น แต่นักเขียนอาจจะต้องไม่ไปหาข้อมูล แต่ใช้จินตนาการว่าเหตุใดจึงเกิดสิงนี้ขึ้น ผูกมาเป็นเรื่อง แต่นักข่าวเขียนข้อเท็จจริง
ความต่างของ 2 เรื่องในสมัยก่อนต่างกันชัดมาก คือข่าวเป็นลักษณะรายงาน ขณะที่จิตนาการเป็นลักษณะเรื่องแต่ง แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าโลก 2 โลกเชื่อมเข้าด้วยกัน จะเห็นงานสารคดี จำนวนมากเขียนเหมือนนวนิยาย สาระนิยายบางเรื่องมีตัวละครที่ไม่ใช่ตัวจริง แต่สารคดีมันมีตัวจริง

การเขียนเรื่องสั้นจะทำยังไงให้เข้าอยู่ในกรอบ คุณชัมยพรอธิบายว่า เรื้องสั้นที่มีความยาว 1-2 หน้า เอ4 เป็นเรื่องสั้นขนาดสั้น แต่ไม่ใช่เขียนง่ายๆ เขียนยากมาก คือจะเอาประเด็นที่สำคัญไปอยู่ใน 2 หน้าได้ยังไง ขณะเรื่องสั้นที่อ่านทั่วไป มีประมาณมี 5-8 หน้าก็ได้ หรือมากกว่านั้น แต่ไม่ควรเกิน 15 หน้า ส่วนเรื่องสั้นขนาดยาว คนที่ทำให้เกิดเรื่องสิ้นแบบนี้คือฝรั่ง เขาเขียนเรื่องสั้นยาวมาก เหมือนนิยายไทยเลย ประมาณ 30-50 หน้า

องค์ประกอบเรื่องสั้น กับองค์ประกอบนวนิยายต่างกัน

คุณชมัยพร อธิบายว่า เรื่องสั้นนั้นมีโครงเรื่องเดียว คือมีแนวคิดชัดเจน แก่นความคิดของเรื่อง แต่วางโครงเรื่อง เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ต้นจนจบคือโครงเรื่องเดียว แต่ถ้าเหตุการณ์มีโรงเรื่องย่อยๆ ซ้อนๆ กันพ่วงเข้ามา มีที่มาซับซ้อนซ่อนเงื่อน คือนวนิยาย สรุปคือเรื่องสั้น เป็นโครงเรื่องเดียว ส่วนนวนิยาย มีโครงเรื่องเป็นพวงๆ เป็นชุด นำไปสู่ตัวละคร ใช้ตัวละคร 30 ตัวได้

เรื่องไหนก็ตามที่เป็นลักษณะนิยาย เราอ่านแล้วจะให้ความรู้สึกซาบซึ้ง ทีละนิด แต่เรื่องสั้น ต้องพุ่งตรงเจิมหน้าผากหงายทั้งยืน คือต้องแรงพอ เรื่องสั้นเหมือนลูกสร เหมือนธนู ยิงไปตรงแสกหน้าคนอ่านเลย ถ้ามีพลังพอ

นักเขียนนวนิยาย ก็เหมือนให้คนอ่านกินยาพิษ ซึมไปทีละนิด โดยให้ยาพิษซึมทั้งตัว จะเห็นว่านักเขียนที่หันไปเขียนนวนิยาย แล้วเขาจะไม่หันมาเขียนเรื่องสั้นอีก เพราะว่าเรื่องสั้นมันใช้พลังเยอะมาก เวลาที่เขาสร้างเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งเขาใช้พลังเยอะพอๆ กับเขียนนวนิยายเลยเพื่อที่จะส่งไปให้เต็มที่ พอส่งไปแล้ว เหมือนเราจะต้องเอานักอ่านให้อยู่ด้วยธนูหนึ่งลูก แต่นักเขียนนวนิยายเอาผู้อ่านให้อยู่ด้วยยาพิษหนึ่งแก้ว พลังเท่ากันทำให้คนอ่านอยู่หมัดเหมือนกัน

เราจะเขียนเรื่องสั้นเขียนยังไง

นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย อธิบายว่า เวลาเราจะเขียนเรื่องสั้น โครงเรื่องง่ายๆ เราต้องมีตัวขึ้นต้นว่าจะขึ้นยังไง จะทำยังไงก็ได้ให้คนอ่านรู้สึกสนใจ บางคนขึ้นต้นด้วยความตื่นเต้น บางคนยิงกันเลยเปรี้ยงปร้าง บางคนระเบิด บางคนอาจจะขึ้นด้วยการพรรณา รำพันถึงฉากความงาม ทำยังไงให้ฉากนั้นเข้าไปอยู่ในใจ และต้องบอกด้วยว่าต้องขึ้นต้นฉากนั้นไปด้วยอะไร ต้องเลือกแล้วว่าทำไมเลือกฉากนี้ จะนำเสนออะไรต่อจากนี้

บางครั้งอาจจะขึ้นด้วยบทสนทนา ขึ้นต้นด้วยตัวละคร ขึ้นต้นด้วยฉากที่สำคัญที่สุด ขึ้นต้นด้วยความตื่นเต้น ขึ้นต้นด้วยเรื่องขนบแบบเฉยๆ ถ้าเรื่องข้างในมันดีทรงพลังเอารอด ขึ้นต้นด้วยเรื่องอะไรก็ต้องมีความสำคัญต่อเรื่อง ต้องคิดให้สัมพันธ์ต่อเรื่องที่เราจะเขียนต่อจากนั้น

พอเราเปิดเรื่องได้ ฉากต่อไปคือการเดินเรื่อง ต้องทำให้การเดินเรื่อง หรือทำให้เหตุการณ์ขัดแย้งของเรื่อง พัฒนาเรื่องให้ไปเรื่อยๆ ต้องสร้างความขัดแย้งก่อน อย่างเรื่องรักต้องมีขัดแย้ง ถ้ารักกันดีๆ แต่มีคนที่สามเข้ามาก็เริ่มต้นคนที่สาม เป็นปมที่หนึ่ง แล้วค่อยขยายความขัดแย้ง แต่ไม่ต้องขยายปมไปถึง 20 ครั้ง เอาหนึ่งถึงสองครั้งก็ได้ ต้องสร้างเหตุการณ์ขึ้นมาให้เห็น เหมือนหนังโฆษณา แว่นที่ผู้หญิงไปเจอพ่อ แต่ความจริงมากับแม่ มีปมเรื่องที่1 ปูพื้นว่าเธอตาสั้น อารมณ์ร้อน คิดว่าแฟนเธอนั่งกับคนอื่น ปมที่ 2 ก็เข้าไปด่า พระเอกเข้ามาคือจุดคลี่คลาย เรียบร้อยสมบูรณ์ครบ

เรื่องสั้นไม่ได้มีแบบเดียว มาดูว่ามีอะไรบ้าง 1. เรื่องสะท้อนตามความเป็นจริง เรียกว่าอัตถนิยม อย่างพี่จินต์ ปัญจพรรค์ เขียน เขาจะเขียนเรื่องที่ไม่ใช่อัตถนิยมไม่ได้เลย พี่อาจินต์เขียนเรื่องพระเจ้าอยู่หัว พ่อ และลุง เนื้อหาแน่นมากๆ เราเห็นภาพ เห็นยุคสมัย นักเลงสมัยก่อนเขามีคุณธรรม นี่คือตัวอย่างเรื่องสั้นที่สะท้อนตามความเป็นจริง แต่บางคนไม่ได้เขียนเป็นเรื่องจริง แต่จะเขียนเป็นเรื่องสัญลักษณ์เอาสิ่งหนึ่งมาแทนสิ่งหนึ่ง อย่างเสนีย์ เสาวพงศ์ เรื่องทานตะวันดอกหนึ่ง ดอกทานตะวันไม่ใช่ทานตะวัน แต่เป็นเรื่องรัธรรมนูญ เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการเมือง สังคม ได้ของใหม่มาแล้วไม่สนใจอะไร นี่คือสัญลักษณ์ เรื่องสวรรยา ของลาว คำหอม มันมีสัญลักษณ์ มีซ่อนคำด่าไว้มากมาย แกะรอยย้อนหลัง เอาส้วมสกปรกสุดขีดมาเขียนเป็นวิมาน พออ่านแล้วมันขำหัวเราะ สนุกสุดขีด ถ้าต้องการเขียนเรื่องสัญลักษณ์ ต้องทำแบบนี้

ประเภทที่สามที่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ ชอบเขียน คือนิยายวิทยาศาสตร์ เวลาเป็นเรื่องสั้นคุณกำลังทำอะไรที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิ่งแวดล้อม การเมือง เอาความพัฒนาการก้าวหน้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาเป็นเครื่องมือในการการนำเสนอนิรันศักดิ์ เขียนเรื่องยาชนิดหนึ่ง ที่กินแล้วสามารถจิตนาการได้ คือกำลังด่าคนที่สมัยนี้ไม่มีจินตนาการ ใช้เพื่อกระตุกคนก็ได้

เรื่องเหนือจริง เรื่องสยองขวัญ เรื่องลึกลับตื่นเต้น หลวงเมืองในมติชน เขียนเรื่องสยองขวัญเหมือนเรื่องสมจริง เวลาอ่านแล้วสมจริง มีการแสดงอภินิหาร อยู่ๆ มีชีวิต นี้คือเรื่องเหนือจริง ที่เราหาคำตอบไม่ได้ อย่างท่อนแขนนางรำก็ สยองขวัญ

อีกประเภทหนึ่งคือ ใครที่เป็นเจ้าของพื้นที่ท้องถิ่น ตำนาน นิทาน เวลาเอามาผูกบางทีอาจจะไม่สมจริงสะท้อนตามความเป็นจริง อย่างเรื่องคุณหญิงหอยกับคุณนายหอย ของอังคาร กัลป์ยาณพงศ์เหมือนเป็นตำนาน นิทาน แต่ว่าเยาะเย้ยเสียดสีไฮโซ

เรื่องสั้นที่เราได้ยินบ่อย คือเรื่องสั้นเพื่อชีวิต จะต้องชี้ทางออกให้สังคม ต้องเปิดโปงความเลวร้ายสังคมชั้นสูง จะต้องอยู่ข้างกรรมกร มีเงื่อนไขเยอะมาก ถ้าอ่านตอนนี้มาเขียนตอนนี้สังคมจะงง แต่บางเรื่องยังอ่านได้ เช่น อ. ชัยวรสิงห์ เรื่องเทพธิดาที่ท่านาง เป็นเรื่องสั้นเพื่อชีวิตที่แท้เลย เรื่องของศรีบูรพา แต่ปัจจุบันเราก็เขียนตามปกติ ไม่ต้องแสดงความกดขี่อะไรชัดเจน

ต่อมาคือเรื่องสั้นประวัติศาสตร์ คนเขียนน้อยมากเพราะว่า มันไม่พอ แต่บางคนอาจจะเขียน เช่นตัดตอนที่ญี่ปุ่นมาเมืองกาญจน์ ชาวบ้านที่เคยเจอญี่ปุ่น ตัดประเด็นแค่นั้น ก็เป็นเรื่องสั้นได้

ส่วนเทคนิค กลวิธี ที่เห็นบ่อยจนปกติ คือเรื่องหักมุมจบ จะหักหรือไม่หักก็ได้ การหักมุมเป็นการจบที่เราคาดไม่ถึง แต่ถ้าเขียนขาวกับดำมาตลอดเรื่องชัดเจน อันนี้ไม่หักมุมจบ เทคนิคใหม่ๆ เราสร้างได้ตลอด ต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา เรื่องการถอดเทป ถ้าถอดตั้งแต่ต้นจนจบไม่ใช่เรื่องสั้น แต่ถ้าเราจะแกล้งทำเป็นถอดเทปตรงไหนบ้าง ทำให้เป็นเรื่องสั้น บางคนใช้การสนทนาตลอดเรื่อง เป็นเรื่องสั้นได้

คุณชมัยพรบอกว่า เรื่องที่เจะอามาเขียนต้องประทบใจสุดๆ มีแรงปรารถนามากที่สุด ถามตัวเองว่าตั้งแต่มีชีวิตมา อ่านชีวิตรอบๆ ตัว ทำข่าว ที่หาข้อมูลมาทั้งหมด มีเรื่องอะไรกระทบใจสุด อยากเขียนมากที่สุด อะไรที่ร้ายแรง เศร้าที่สุดในชีวิตเรา ความตายครั้งแรกทีเรารู้จัก ของเหล่านี้กระตุ้นเรา เป็นกุญแจสำคัญที่จะไข ชีวิตเรา

เวลาที่เราจะเลือกเรื่องมาเขียน ดูว่าประเด็นเรามีอะไร ถ้าประเด็นใหญ่ มีพวงมากๆ จะเป็นนวนิยาย ถ้าเราเลือก ประเด็นเล็กๆ เป็นเรื่องสั้น

นอกจากนี้คุณชมัยพร ยังให้ความรู้เกี่ยวกับความต่างของนวนิยายกับนิยาย ว่านิยายไม่มีบทสนทนา ไม่มีการยกข้อความขึ้นมา ไม่มีเครื่องหมายคำพูด จะเป็นลักษณะของนิทาน ตำนาน เป็นเรื่องเล่า ส่วนนวนิยายมีบทสนทนาแยกมาต่างหาก เพราะเป็นศาสตร์ใหม่ตามฝรั่ง นอกจากนี้เรื่องสั้นนั้นที่ดีควรมีตัวละครไม่เยอะมาก 5-6 ก็คน ดูความจำเป็นของเรื่อง ดูที่บริบทของเรื่อง ส่วนภาษาเราต้องหาภาษาของตัวเองให้เจอ สร้างขึ้นมา เป็นภาษาเฉพาะ แม้ว่าแรกๆ อ่านหนังสือบางเล่ม แล้วติดภาษามา ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะการอ่านทำให้เราเห็นรูปแบบ ไม่ต้องกลัววิธีการเขียนจะติดมา เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดา เราสามารถหนีภาษาได้ ถ้าเรารู้ว่าเราติดก็หนีได้แล้ว

นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สรุปทิ้งท้ายว่า ถ้าเราจะเขียนเรื่อง ถ้าสร้างโครงเรื่องแล้ว ให้เรานึกถึงตัวละครใกล้ๆ ที่เราอยากให้เป็นแบบ ใส่รายละเอียดของคนนั้นไปเลย ต้องชั่งสังเกต มีความละเอียดอ่อนในการถ่ายทอด จะทำยังไงให้มีทุกกระเบียดนิ้ว เราเลือกว่าอะไรกระทบอารมณ์ที่สุด ใช้อารมณ์ จินตนาการ ใช้สิ่งที่เป็นภาพรวมมากกว่าข้อมูลดิบและรายละเอียดทั้งหมด ถ้านินายสามารถใส่รายละเอียดได้ แต่ถ้าเยอะไปกลายเป็นสารคดีไป


บทความจาก tja.or.th เดิมเป็น .doc ถือวิสาสะนำมาเผยแพร่เป็นหน้าเว็บ เพื่อความสะดวกของผู้อ่านท่านอื่น