18 พฤษภาคม 2555

อยากผอมกินคาร์บดี อยากเป็นเบาหวานกินคาร์บเลว


Glycemic index ของอาหารคือตัวเลขที่บอกเราว่า อาหารชนิดนั้นมีผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือดของเราได้เร็วเพียงใด ข้างล่างเป็นตาราง GI ของอาหาร 1300 รายการ (โดยนักวิจัยในออสเตรเลีย)

International table of glycemic index and glycemic load values: 2002

ช่องที่เทียบกับกลูโคส หมายความว่าถ้ากลูโคสนับเป็น GI = 100 แล้วผลของของอาหารชนิดนั้นต่อน้ำตาลในเลือดในช่วง 2 ชม.หลังจากทานเข้าไป จะมีค่าเท่าไหร่ ตั้งแต่ 0 คือไม่มีผลเลย ไปจนถึง 100 คือมีผล (เร็ว) พอๆ กับกินกลูโคส สรุปว่า GI คือ "ความเร็ว" (ง่าย) ในการย่อยคาร์โบไอเดรตในอาหารชนิดนั้น ส่วน glycemic load คือ "ปริมาณ" ผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือด ซึ่งก็คือ GI คูณปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ซึ่งขึ้นกับปริมาณที่ทาน

มีตัวเลขที่ทำให้แปลกใจได้หลายตัวเช่น Corn flake ได้ GI = 80! ให้พลังงานเร็วมาก มีทฤษฏีในทางการแพทย์ที่เชื่อว่าการกันอาหารที่มี GI สูงตลอดเวลา ทำให้อ้วนและเป็น metabolic syndrome ตามด้วยเบาหวานและโรคหัวใจ ปัจจุบันนักวิจัยสามารถทำให้หนูเป็นเบาหวาน (เพื่อทดสอบยารักษาเบาหวาน) ได้โดยการให้อาการที่มี GI สูงเพียงไม่กี่ "สัปดาห์"

ในทางกลับกัน สูตรไดเอ็ตสมัยใหม่เกือบทุกเจ้าจะแยกระหว่าง bad carb (GI สูง) กับ good carb (GI ต่ำ) แล้วเน้นว่าให้เลิกกินคาร์บเลว กินแต่คาร์บดี เพราะคาร์บเลวเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็ว ซึ่งร่างกายไม่มีทางใช้ทัน (ถ้าไม่ได้กำลังวิ่งอยู่) แต่ร่างกายเราเพิ่งวิวัฒนาการมาจากยุคที่อาหารหายาก จึงไม่ยอมทิ้งน้ำตาลหรือโปรตีนออกจากร่างกายโดยเด็ดขาดในภาวะปกติ แปลว่าน้ำตาลที่เหลือทั้งหมดก็ต้องเก็บไว้ที่ตับ กล้ามเนื้อ ที่พุง และใต้ผิวหนัง บวกกับวิธีชีวิตที่ "นั่งตลอดทั้งวัน" เลยไม่ค่อยได้ใช้ที่เก็บไว้สักที เราเลยพากันอ้วนง่ายผอมยากกันทั้งประเทศ

GI ถูกคิดขึ้นมาในปี 1980 และทำให้เราเข้าใจว่า แคลอรีจากคาร์โบไฮเดรตในอาหารแต่ละประเภท ไม่ได้มีผลต่อร่างกายเราเท่ากันอย่างที่เคยคิด

]babi]