ทำไมแพทย์บางคนถึงต่อต้าน พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ครับ? เขาเสียผลประโยชน์อย่างไร? ผมนึกว่าดีต่อแพทย์ทุกคนเสียอีก
แพทยพาณิชย์สภา ต่อต้าน พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เพราะ กก.ส่วนใหญ่คือเจ้าของ รพ.เอกชน พรบ. ต้องมีการจ่ายสมทบกองทุน รพ.เอกชนกลัวต้องเปิดเผยรายได้ เพราะการจ่ายต้องอิงรายได้ต่อหัวค่ะมีการพิจารณาที่มาของกองทุนเป็นแบบอื่นบ้างไหมครับ?
ถือหลักใครก่อให้เกิดความเสียหายต้องรับผิดชอบ คนไข้ไทยมี 4 ประเภท บัตรทอง, ประกันสังคม, ข้าราชการ และรพ.เอกชน คนไข้บัตรทอง รัฐมีงบให้ 1 แสนล้านต่อคนไข้ประมาน 48 ล้านคน ม.41 ของ พรบ.ประกันสุขภาพแห่งชาติ กันเงิน 1% เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (ไม่ใช่ชดเชย) ปีละ 1 พันล้าน / 10 ปีมีเงินสะสมนับหมื่นล้าน ใช้ไปเพียงหลักร้อยล้าน เนื่องจากอ่อนประชาสัมพันธ์
เงินเหลือหลายพันล้านจะถูกโอนมาไว้ในกองทุนคนไข้สวัสดิการข้าราชการ รัฐให้งบประมาน 5 หมื่นล้านต่อคนไข้ประมาน 5 ล้านคน ไม่เคยมีการกันเงินชดเชยความเสียหาย คนไข้ประกันสังคม มีเงินมหาศาล แต่ก็ไม่เคยกันเงินชดเชยคนไข้เช่นกัน
กองทุนของคนไข้ทั้งสามสิทธิ ต้องร่วมกันเงินอาจจะสักไม่เกิน 3% (เงินคนไข้) มาร่วมจ่ายสมทบกองทุน ส่วน รพ.เอกชน ปกติดูดบุคคลากรภาครัฐไปโดยไม่เคยลงทุนผลิตเอง ทำกำไรปีละนับแสนล้าน จ่ายภาษีครบหรือไม่ยังไม่มีใครตอบ พอจะจ่ายสมทบกองทุน กลับอาศัยอำนาจของ "แพทย์พาณิชย์สภา" ปลุกระดมต้าน พรบ. เพราะกลัวการจ่ายสมทบ
เท่าที่คลุกวงในมาตลอด ไม่เห็นหน่วยงานไหนเสนอวิธีการจ่ายสมทบที่ต่างออกไป ยกเว้น "แพทยพาณิชย์สภา" พยายามจะขยายเงิน ม.41 ของคนไข้บัตรทองมาจ่ายชดเชยแทน รพ.เอกชน อย่างน่าเกลียดอยู่ขณะนี้